1.การเพิ่มผลผลิตในองค์กรในยุคที่มีการแข่งขันกันสูงทางการค้าและธุรกิจองค์การต่างๆ
ทั้งที่ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมรวมถึงองค์การของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
หลักของการเพิ่มผลผลิตในองค์การทุกแห่งจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด
4 ประการ คือ
1. การพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ
2. การลดต้นทุน
3. ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและการบริการ
4. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
1.1 ประสิทธิภาพ
(Efficiency)
หมายถึง
ความสามารถที่จะนำทรัพยากรที่มีอยู่ออกมาใช้ได้อย่างดีที่สุดในความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมาย
ความหมายที่ 2 หมายถึง
ความสามารถที่ทำให้เกิดผลในการงานหรือลงมือทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
(Doing Things Right)ประสิทธิภาพเป็นการเปรียบเทียบส่วนที่เป็น
Input หรือปัจจัยนำเข้ากับ Output ผลิตผลที่ได้
การวัดค้าประเมินประสิทธิภาพ คือ Input ต้องใกล้เคียงกับ Output
มากที่สุดและมีความสูญเสียน้อยที่สุด ประสิทธิผล (Effectiveness)
หมายถึง
ความสามารถในการเลือกเป้าหมายที่เหมาะสมในการบรรลุเป้าหมายนั้นๆความหมายที่ 2
หมายถึง ผลสำเร็จหรือผลที่เกิดขึ้นหรือการเลือกลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม
1.2 อัตราผลิตภาพ (Productivity)ผลิตภาพ คือ อัตราส่วนระหว่างผลิตผล (Outputs) ขององค์การในรูปของสินค้าและบริการต่อจำนวนปัจจัยการผลิต
(Inputs) ที่ใช้ไปเราสามารถแบ่งประเภทของอัตราผลิตภาพได้เป็น
3 ประเภท ดังนี้
1.1.2 อัตราผลิตภาพเฉพาะส่วน
(Partial
Productivity) คือ
อัตราส่วนระหว่างผลิตผลต่อทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตแต่ละชนิดเช่นอัตราผลิตภาพวัตถุดิบ
(Material Productivity) อัตราผลิตภาพเรื่องเงินลงทุน (Capital
Productivity) อัตราผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) อัตราผลิตภาพค้าใช้จ่าย (Expense Productivity) อัตราผลิตภาพพลังงาน
(Energy Productivity) เป็นต้น
ตัวอย่าง ผลิตผล 1000 บาท
ทรัพยากรที่ใช้
–
วัตถุดิบ
200 บาท
–
เงินลงทุน 300
บาท
–
แรงงาน 200 บาท
–
ค่าใช้จ่าย 50 บาท
–
พลังงาน 100
บาท
อัตราผลิตภาพเฉพาะส่วน ได้แก่
อัตราผลิตภาพวัตถุดิบ = 1000/200 =
5.00 บาท/บาท
อัตราผลิตภาพเรื่องเงินลงทุน =
1000/300 = 3.33 บาท/บาท
อัตราผลิตภาพแรงงาน = 1000/200 =
5.00 บาท/บาท
อัตราผลิตภาพค่าใช้จ่าย =
1000/50 = 20.00 บาท/บาท
อัตราผลิตภาพพลังงาน =
1000/100 = 10.00 บาท/บาท
1.2.1 อัตราผลิตภาพองค์ประกอบรวม (Total
Factor Productivity) คือ อัตราส่วนผลิตผลสุทธิ
ต่อผลรวมของทรัพยากรด้านเงินทุน และแรงงาน (ผลิตผลสุทธิ = ผลผลิตรวม – ค่าวัตถุดิบบริการที่ต้องซื้อ)
2.
วงจรผลิตผล (Productivity
Cycle)
การเพิ่มผลผลิตจะเกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง
มีลักษณะเป็นวงจร (Cycle) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการของวงจรผลิตภาพหรือวงจรการเพิ่มผลผลิต
เป็นขั้นตอนดังนี้
1.การวัดผลงาน (Measurement)
2.การประเมินผลงาน (Evaluation)
3.การวางแผน (Planning)
4.การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต (Productivity
Improvement)
3. ต้นทุนและความสูญเสีย
องค์การที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินงานผู้บริหารมักคำนึงถึงกำไร
(Profits)
เป็นเป้าหมายสูงสุดซึ้งการจะได้กำไรมากน้อยขึ้นอยู่กับราคาขายหรือมูลค่าสินค้าต้องสูงกว่าต้นทุนการผลิต
จากสมการ
กำไร
= ราคาขาย – ต้นทุน
3.1 ต้นทุน (Cost) หมายถึง
ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปสำหรับทรัพยากรทางการผลิตเพื่อให้เกิดผลิตผล
ต้นทุนการผลิตที่เป็นค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น
3 ส่วน คือ
1. ค่าวัสดุ (Material
Cost)
2.
ค่าแรงงาน (Labor Cost)
3.
ค่าโสหุ้ย (Overhead Cost)
ค่าโสหุ้ย จะประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆ
–
ค่าวัสดุทางอ้อม เช่น ค่าวัสดุเครื่องใช้สำนักงาน ค่าทำความสะอาด
ค่าบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
–
ค่าแรงงานทางอ้อม เช่น ค่ายามรักษาความปลอดภัย ค่าพนักงานทำความสะอาด
พนักงานรับโทรศัพท์ เป็นต้น
–
ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
–
ค่าใช้สอยอื่นๆ
–
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและทรัพย์สินอื่น ๆ
–
ค่าใช้จ่ายสวัสดิการ เช่น โบนัส ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
–
ค่าขนส่ง เป็นต้น
3.2
ความสูญเสีย (Lost) หมายถึง
ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปแล้วไม่เกิดผลผลิต บางองค์การอาจใช้คำว่า ความสูญเปล่า (Waste)ในความเป็นจริง
ความสูญเสียหรือความสูญเปล่าก็คือต้นทุนแต่เป็นต้นทุนที่ไม่ก่อผลประโยชน์
ปัญหาของการเพิ่มผลผลิต ซึ้งทำให้ผลผลิตตกต่ำลงและอาจมีสาเหตุหลายประการซึ้งทำให้เกิดความสูญเสีย ได้แก่
3.2.1. ความสูญเสียในส่วนวัสดุ เช่น
–
มากเกินไป สั่งซื้อมามาก ทำให้หมดเงินลงทุน
และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ
–
สูญหาย การวางผิดที่ หยิบใช้โดยไม่ต้องบอก ฯลฯ
–
ไว้ผิดประเภท จัดซื้อไม่ถูกขนาดหรือ Spec เสียค่าใช้จ่ายมาก
ฯลฯ
3.2.2. ความสูญเสียในส่วนเครื่องจักร
–
เก่าชำรุด
–
สกปรก ขาดการดูแลรักษา
–
ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ฯลฯ
3.2.3. ความสูญเสียในส่วนแรงงาน
–
ขาดระเบียบวินัย
–
ขาดการฝึกอบรม
–
มีทัศนคติที่ไม่ดีในการทำงาน ฯลฯ
3.2.4.ความสูญเสียในส่วนกระบวนการผลิตหรือวิชาการทำงาน
–
ขาดเทคโนโลยี
–
ไม่มีการพัฒนาควบคุมคุณภาพ ฯลฯ
ความสูญเสีย 7 ชนิด
บริษัท
โตโยต้ามอเตอร์ แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ระบุถึงสาเหตุของความสูญเสีย 7ชนิด ไว้
ดังนี้
1. ผลิตมากเกินไป 2. ของชำรุดเสียหายหรือของเสีย 3. ความล่าช้าหรือการรอคอย
4. วัสดุคงคลัง สินค้าคงคลังมากเกินไป 5. การขนส่งหรือการขนย้าย 6. กระบวนการหรือการแปรรูป
7. การเคลื่อนไหว
7. การเคลื่อนไหว
–
ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมากเกินไป (Overproduction)
การผลิตมากเกินไป
ทำให้มีการใช้วัตถุดิบและแรงงานเกินความจำเป็น
เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตขั้นสุดท้าย และยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า
การบรรจุภัณฑ์และการขนส่ง
– ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสีย
(Defect)
การผลิตของเสีย หมายถึง
การสูญเสียคุณค่างาน เสียเวลา เสียวัตถุดิบ
และยังเป็นการเพิ่มงานในการผลิตหรือการแก้ไขงานใหม่
–
ความสูญเสียที่เกิดจากการล่าช้าหรือการรอคอย (Delay or Waiting)การรอคอย หรือความล่าช้า เกิดจากสาเหตุต่างๆ กัน เช่น ความล่าช้าของการส่งวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน
การใช้เวลานานในการติดตั้งเครื่องจักร
กระบวนการขาดความสมดุลอันเนื่องจากการวางแผนการผลิตไม่ถูกต้อง
–
ความสูญเสียที่เกิดจากการมีวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น (Inventory
/ workin-process)การสะสมวัตถุดิบไว้จำนวนมากแล้วใช้ไม่ทัน ทำให้ต้องใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาต้องเสียค่าใช้จ่าย
ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย เสียเวลาทำงาน และเสียทรัพยากรอื่นๆ
–
ความสูญเสียที่เกิดจากการขนส่งหรือขนย้าย (Transport)การใช้แรงงานขนส่งของเป็นระยะไกลๆ ในการทำงาน
การเดินทางของพนักงานส่งเอกสาร การขนส่งเป็นการสูญเสียที่ไม่ได้เพิ่มคุณค่าของสินค้า
– ความสูญเสียเกิดจากการกระบวนการผลิต (Process)ความสูญเสียอาจเกิดจากการไม่ได้ดูแลรักษาเครื่องจักร
การทำงานด้วยมือที่มีการข้ามขั้นตอนการทำงาน เครื่องจักรมีประสิทธิภาพต่ำ
–
ความสูญเสียที่เกิดจากการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น การปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมถูกต้อง
การทำงานกับเครื่องมือหรืดอุปกรณ์ที่มีขนาดน้ำหนักหรือสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมกับร่างกาย
4.
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตในองค์การ
หลักการสำคัญของการบริหารเพื่อเพิ่มผลผลิตในองค์การ
สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ
4.1. เวลาในการผลิต 4.2. การวางแผนควบคุมการผลิต 4.3. การใช้ระบบเพียงระบบเดียวในการผลิต
4.4.
ไม่มีวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมการผลิต
-เวลาในการผลิตผู้บริหารจะต้อง –
ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้ค่า
–
ค้นหาสาเหตุของความล่าช้า – จัดลำดับความสำคัญของงานโดยกำหนดลำดับสูงสุด
–
ลดรอบเวลาในทุกหน้าที่งานทั้งด้านงบประมาณ
-การวางแผนควบคุมการผลิต
ผู้บริหารควรใช้หลัก 5
W+1 H โดยตั้งคำถามเป็นขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้
WHAT
= จะผลิตสินค้าหรือให้บริการอะไร
WHEN
= จะผลิตเมื่อใด
WHERE
= จะผลิตที่ไหน
WHO
= ใครเป็นผู้ผลิต
WHY
= ทำไมทำอย่างนั้น
HOW
= จะผลิตอย่างไร
– การใช้ระบบเพียงระบบเดียวในการผลิตองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ
ที่ใช้ในการผลิตจะเหมือนกัน แม้ว่าขนาดขององค์การจะแตกต่างกัน
-ไม่มีวิธีที่สุดในการควบคุมการผลิตการผสมผสานระหว่าง
การวางแผน การดำเนินการควบคุมจะช่วยให้การบริหารมีประสิทธิภาพ
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและช่วยลดความสูญเสีย
ได้แก่
1.
หลักการ ECRS
E = Eliminate
: การขจัดขั้นตอนหรือวิธีการทำงานที่ไม่เป็นประโยชน์
C = Combine
: การรวบรวมขั้นตอนต่างๆ
R = Rearrange
: การจัดลำดับขั้นตอนการทำงานใหม่ตามลำดับก่อนหลัง
S = Simplify
: การปรับปรุงให้ขั้นตอนหรือวิธีการทำงานต่างๆ
2.
การผลิตแบบ “จิ๋วแต่แจ๋ว”หรือการผลิตแบบกะทัดรัด (Lean
Manufacturing) หมายถึง ระบบการผลิตที่กะทัดรัดแต่มีประสิทธิภาพ
โดยวิธี
–
ลดต้นทุนการผลิต – ลดเวลาในการผลิต –
ลดสินค้าในสต๊อก – ขจัดงานที่ไม่สร้างมูลเพิ่มทิ้ง
แนวคิดพื้นฐาน คือ
2.1. การฝึกอบรมพัฒนาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว
2.2. การดำเนินการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.3. การลดจำนวนสินค้าในสต๊อก
2.4. การขจัดงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทิ้งไป
3.ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี
(JIT
: Just in Time) หรือระบบการผลิตของโตโยต้าที่เรียกว่า ระบบคัมบัง (Kanban
System)
หลักการของระบบ JIT
ประกอบด้วย
3.1.ระบบคัมบังการเบิกชิ้นส่วนในการผลิต
3.2.การเปรียบเทียบทางการผลิต
3.3.การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรให้สิ้นลง
3.4.การทำงานอย่างมีมาตรฐาน
3.5.การวางผังเครื่องจักร
3.6.ระบบอัตโนมัติ
3.7.ระบบการควบคุมด้วยการมองเห็น
3.8.กิจกรรมในการปรับปรุงงาน
4.
เทคนิคการบำรุงรักษาทวีผล
(Total
Productive Maintenance)
4.1.กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
4.1.1 ความสูญเสียจากการหยุดเนื่องจากขัดข้อง
(Breakdown)
4.1.2 ความสูญเสียจากการปรับตั้งและปรับแต่งเครื่องจักร
(Set-up
and Adjust-ment)
4.1.3 ความสูญเสียจากการหยุดเล็กน้อยและเดินเครื่องเปล่า
(Idling
and Minor Stoppages)
4.1.4 ความสูญเสียเนื่องจากเครื่องจักรเสียความเร็วในการผลิต
(Reduced
Speed)
4.1.5 ความสูญเสียเนื่องจากการผลิตของเสีย (Defects)
4.1.6 ความสูญเสียเนื่องจากการสูญเสียวัตถุดิบเมื่อเริ่มเดินเครื่อง
4.2. การสร้างระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักร
4.3. การจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องจักร
4.4.การสร้างระบบป้องกันการรักษาโดยพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานเพิ่มทักษะและปลูกฝังจิตสำนึกในการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มากขึ้น
5. เทคนิควิศวกรรมอุตสาหกรรม (Industrial
Engineer Technique) หรือ Ietechniqueประกอบด้วยกลุ่มของเทคนิคต่างๆที่สามารถยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นขจัดของเสียและการทำงานที่ไม่คงที่
6. การเพิ่มผลผลิตโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุดสามารถทำได้ด้วยแนวทางการปรับปรุงใน
8ประการ ได้แก่
6.1.การจัดเก็บและการขนย้ายวัสดุสิ่งของอย่างมีประสิทธิภาพ
6.2.การออกแบบและจัดบริเวณที่ทำงานใหม่
6.3.การใช้เครื่องจักรอย่างประสิทธิภาพ
และปลอดภัย
6.4.การควบคุมสารเคมีอันตราย
และสัตถุอันตราย
6.5.การปรับปรุงแสงสว่าง
6.6.การเพิ่มสวัสดิการ
6.7.การปรับปรุงอาคารสถานที่
6.8. การจัดรูปแบบของงานใหม่ เป็นต้น
5. ความสำเร็จของการเพิ่มผลผลิตในองค์การ
ผู้บริหาร
จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้โดยวิธีการ ดังนี้
1.ส่งเสริม สนับสนุน
กระตุ้นและให้กำลังใจแก่พนักงานในการเพิ่มผลผลิต
2.จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอ
3.พัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดการ
4.มีการวางแผนตัดสินใจที่ถูกต้อง
หัวหน้างาน
จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้โดยวิธีการ ดังนี้
1.เป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่พนักงาน 2. มีวิธีการจูงใจในการทำงาน
3.จัดทำเอกสารคู่มือการทำงานเพื่อช่วยให้งานมีประสิทธิภาพ 4.มีทักษะในการติดต่อสื่อสารที่ดี
5.พัฒนาตนเองอยู่เสมอ 6. ติดตามดูแลการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
7. สอนงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา 8.ให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
พนักงาน จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้โดยวิธีการ
ดังนี้
1.ทำความเข้าใจกับเป้าหมายและนโยบายขององค์การ 2.เรียนรู้งานและคิดปรับปรุงอยู่เสมอ
3.รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 4.มีความเสียสละให้แก่องค์การ
5.ทำงานเป็นทีม 6.มีความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์การ
7.รู้จักรการวางแผนในการทำงาน 8.มีทักษะในการสื่อสารที่ดี
9.ผลิตสินค้าที่มรคุณภาพ 10.ช่วยลดความสูญเสีย
11.ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด 12.ร่วมมือต่อกิจกรรมขององค์การอย่างเต็มที่
13.มีทัศนคติที่ดี
เคล็ดลับการนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต
1.การสื่อสารที่ดี 2.การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 3. การทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
บัญญัติ 10 ประการในการทำงาน
1.ใส่ใจกับเรื่องคุณภาพ (Quality) 2.ตระหนักถึงเรื่องต้นทุนอยู่เสมอ
(Cost)
3.ให้ความสำคัญกับเวลาส่งมอบ (Delivery) 4.ต้องให้ความร่วมมือ (Cooperation)
5.ต้องเป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ (Confidant)
6ต้องมุ่งผลสำเร็จ (Results)
7. จัดลำดับความสำคัญของงาน (Priority) 8.ต้องมีการติดตามผล (Follow
up)
9.ยึดถือเรื่องวินัย (Discipline) 10.ความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับงานและตนเอง
(it’s up to you)

1.ลดการสูญเปล่าของวัตถุดิบ 2.ลดความเสียหายของชิ้นงานให้น้อยลง
3.ลดการเสียเวลาของพนักงานลง 4.ลดจำนวนของสต๊อกคงคลัง
5.ลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรหรือเวลาปรับเปลี่ยนงานผลิต 6.ลดอุบัติเหตุด้วยการป้องกันอุบัติเหตุ
7.ตักทอดเวลาเดิน 8.เพิ่มคุณภาพของงานหรือผลิตภัณฑ์
9.ปรับปรุงพื้นที่ทำงานหรือวางผังการทำงานในโรงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 10.ปรับปรุงการบำรุงรักษารักษาและลดการซ่อมแซมเครื่องจักร
11.ปรับปรุงวิธีการทำงานใหม่หรือนำวิธีการทำงานที่ดีกว่ามาใช้ 12.ปรับองค์การด้วยการจัดองค์การให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มาจาก:http://www.kmitnbxmie8.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=388020&Ntype=3
ศึกษาเพิ่มเติมผ่าน วิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=wrFuZHnsS_0
วันที่สืบค้น
29/11/2560
วันที่สืบค้น
29/11/2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น