วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การจัดองค์กร

การจัดองค์กร

องค์กรเกิดจากการที่มนุษย์รวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเพื่อตอบความสนองความต้องการแบบใดแบบหนึ่ง เช่น การรวมตัวกันของคนในสมัยก่อนเพื่อการล่าสัตว์มาเป็นอาหาร การสร้างที่อยู่อาศัย การรวมตัวในลักษณะนี้ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ของคนในกลุ่ม โดยนำเอาการรวมกลุ่มเป็นเครื่องมือในการกำหนดความสัมพันธ์ จนกลายมาเป็นรูปแบบขององค์กรในปัจจุบัน ที่เป็นการร่วมตัวกันเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ มากกว่าการที่รวมตัวกันโดยสัญชาตญาณของมนุษย์เอง
องค์การจึงเข้ามามีบทบาทในการในกิจกรรมทุกรูปแบบของมนุษย์ เช่น กิจกรรมด้านธุรกิจ การศาสนา การศึกษา
ในปัจจุบันนี้กิจกรรมแบบองค์กรได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับด้วยเหตุผล 4 ประการคือ
1. เงื่อนไขจากสิ่งแวดล้อมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมวัฒนธรรมชนบท (Rural Culture) มาเป็นสังคมวัฒนธรรมเมือง (Urban Culture) สังคมประเภทนี้จะก่อให้เกิดการอยู่ใกล้ชิดกับบุคลอื่นเกิดความพึ่งพาอาศัยกัน เกิดความขัดแย้งกันจึงเป็นที่มาของการเกิดขึ้นขององค์กรเพื่อให้องค์กรเป็นเครื่องมือในสร้างความสัมพันธ์ของมนุษย์
2. เงื่อนไขจากมนุษย์มีผลกระทบต่อการสร้างแรงจูงใจให้มนุษย์ก่อตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาที่เกิดจากการเรียนรู้วิธีการในการกำหนดความความสัมพันธ์เพื่อหาผลประโยชน์จากการดำเนินงาน
3. เงื่อนไขจากองค์กรเมื่อมีการตั้งองค์กรในระยะหนึ่งจะเกิดการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องด้วยปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อรักษาทรัพยากรของตนไว้
4. เงื่อนไขจากสังคมการเกิดวิวัฒนาการทางสังคมต่างๆเช่น วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีวิวัฒนาการทางการศึกษารวมถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรที่มากขึ้น ทำให้ต้องมีการขยายตัวขององค์กรเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้น
ความหมายขององค์กร มีผู้ให้ความหมายขององค์กรไว้หลายความหมาย เช่น Alvin Brown ซึ่ง กล่าวว่า องค์กร หมายถึง หน้าที่ซึ่งสมาชิกแต่ละคนของหน่วยงานถูกคาดหมายให้ประพฤติปฏิบัติและถูกคาดหมายความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์ของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นความหมายที่เน้น ภารกิจหน้าที่ Louis Allenพิจารณาองค์กรในแง่ของโครงสร้างซึ่งเป็นกลไกที่ทำให้ชีวิตสามารถร่วมกันทำงานได้ดีโดยต้องมีการจัดกลุ่มทำงานกำหนดและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบกำหนดความสัมพันธ์ให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นความหมายที่เน้น กระบวนการ
Talcott Parsons มององค์กรในแง่เป็น หน่วยงานหนึ่งของสังคม (Social Unit) คือ เป็นกลุ่มที่ถูกสร้างขึ้นอย่างรอบคอบและมีการปรับปรุงตามกาลเวลาเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างเฉพาะทาง
จากความหมายขององค์กรจะสามารถมองเห็นได้ว่าความสำคัญขององค์กรนั้นเป็นสิ่งที่จำและขาดไม่ได้คือ องค์กรจะต้องมีส่วนที่เป็นโครงสร้างที่พลวัตร (Dynamic) คือคนและกระบวนการปฏิบัติของคน เช่น อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ประกอบโครงสร้างที่คงที่ (Static) คือ อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ การแบ่งงานกัน และการติดต่อสื่อสาร (ทั้งการบัญชาและประสานงาน) เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่สามารถเรียงลำดับความสำคัญได้
การจัดองค์กร  คือการกำหนดโครงสร้างขององค์การอย่างเป็นทางการ โดยการจัดแบ่งออกเป็นหน่วยงานย่อยต่างๆ กำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานไว้ให้ชัดเจนรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานย่อยเหล่านั้นทั้งนี้ เพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของการจัดองค์กร
องค์กรเป็นที่รวมของคนและเป็นที่รวมของงานต่างๆ เพื่อให้พนักงานขององค์การปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มสามารถจึงจำเป็นต้องจัดแบ่งหน้าที่การงานกันทำและมอบอำนาจให้รับผิดชอบตามความสามารถและความถนัด  ถ้าเป็นองค์การขนาดใหญ่และมีคนมากตลอดจนงานที่ต้องทำมีมากก็จะต้องจัดหมวดหมู่ของงานที่เป็นอย่างเดียวกันหรือมีลักษณะใกล้เคียงกันมารวมเข้าด้วยกันเรียกว่าฝ่ายหรือแผนกงานแล้วจัดให้คนที่มีความสามารถในงานนั้นๆมาปฏิบัติงานรวมกันในแผนกนั้นและตั้งหัวหน้าขึ้นรับผิดชอบควบคุมดังนั้นจะเห็นจะเห็นว่าการจัดองค์การมีความจำเป็นและก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้านดังนี้
1.  ประโยชน์ต่อองค์กร
(1)      การจัดโครงสร้างองค์การที่ดีและเหมาะสมจะทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเจริญก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ
(2)      ทำให้งานไม่ซ้ำซ้อนไม่มีแผนกงานมากเกินไปเป็นการประหยัดต้นทุนไปด้วย
(3)      องค์การสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ง่ายๆตามความจำเป็น

2.    ประโยชน์ต่อผู้บริการ
(1)      การบริหารงานง่ายสะดวกรู้ว่าใครรับผิดชอบอะไรมีหน้าที่ทำอะไร
(2)      แก้ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนได้ง่าย
(3)      ทำให้งานไม่คั่งค้าง ณจุดใดสามารถติดตามแก้ไขได้ง่าย
(4)      การมอบอำนาจทำได้ง่ายขจัดปัญหาการเกี่ยงกันทำงานหรือปัดความรับผิดชอบ
3.   ประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงาน
(1)      ทำให้รู้อำนาจหน้าที่และขอบข่ายการทำงานของตนว่ามีเพียงใด
(2)      การแบ่งงานให้พนักงานอย่างเหมาะสม ช่วยให้พนักงานมีความพอใจไม่เกิดความรู้สึกว่างานมากหรือน้อยเกินไป
(3)      เมื่อพนักงานรู้อำนาจหน้าที่และขอบเขตงานของตนย่อมก่อให้เกิดความคิดริเริ่มในการทำงาน
(4)      พนักงานเข้าใจความสัมพันธ์ของตนต่อฝ่ายอื่นๆทำให้สามารถติดต่อกันได้ดียิ่งขึ้น
การจัดองค์การเป็นกระบวนการสร้าวงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การงานบุคลากรและปัจจัยทางกายภาพต่างๆ ขององค์การในที่นี้ขอนำหลักการจัดองค์การในระบบราชการมาศึกษาเพราะระบบราชการนั้นเป็ฯองค์การที่มีการจัดองค์การที่ได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวางและมีการนำไปใช้ในทุกวงการหลักที่สำคัญของการจัดองค์การมีดังต่อไปนี้


การกำหนดหน้าที่การงาน    
การกำหนดหน้าที่ของงาน (function)  นั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ขององค์การหน้าที่การงานและภารกิจจึงหมายถึงกลุ่มของกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติที่ต้องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การหน้าที่การงานจะมีอะไรบ้างและมีกี่กลุ่มขึ้นอยู่กับเป้าหมายขององค์การลักษณะขององค์การและขนาดขององค์การด้วย

      ารแบ่งงาน
            การแบ่งงาน  (division  of  work)  หมายถึงการแยกงานหรือรวมหน้าที่การงานที่มีลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกันหรือแบ่งงานตามลักษณะเฉพาะของงาน แล้วมอบงานนั้นๆให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถหรือความถนัดในการทำงานนั้นๆ โดยตั้งเป็นหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบ
หน่วยงานสำคัญขององค์การ
หน่วยงานย่อยที่สำคัญขององค์การ ได้แก่  หน่วยงานหลัก (line)  หน่วยงานที่ปรึกษา (Staff)  และหน่วยงานอนุกร (auxiliary)  การแบ่งหน่วยงานเช่นนี้ทำให้เห็นลักษณะของงานเด่นชัดขึ้น
หน่วยงานหลัก  หมายถึงหน่วยงานที่ทำหน้าที่โดยตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์การและบุคคลที่ปฏิบัติงานที่ขึ้นตรงต่อสายบังคับบัญชาองค์การทุกแห่งจะต้องประกอบด้วยหน่วยงานหลักซึ่งเป็นหน่วยงานปฏิบัติดงานเพื่อผลประโยชน์โดยตรงต่อความสำเร็จขององค์การ
ในธุรกิจขนาดเล็กมักจะมีแต่หน่วยงานหลักเท่านั้นอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบทุกอย่างอยู่กับผู้เป็นเจ้าของหรือผู้จัดการสมาชิกทุกคนอยู่ภายใต้การควบคุมและสั่งการจากผุ้จัดการแต่เพียงผู้เดียวในบริษัทผู้ผลิตหน่วยงานหลักคือฝ่ายผลิตในห้างสรรพสินค้าหน่วยงานหลักคือฝ่ายขายส่วนหน่วยงานประกอบที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานหลัก
หน่วยงานที่ปรึกษา   หมายถึงหน่วยงานที่ช่วยให้หน่วยงานหลักปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะงานหรือเป็นรูปคณะกรรมการที่ปรึกษาในบริษัทต่างๆได้แก่คณะกรรมการบริหารฝ่ายวิจัยวางแผน ฝ่ายตรวจสอบ
หน่วยงานอนุกร  หมายถึงหน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษาหน่วยงานอนุกรมักเป็นงานด้านธุรการและงานอำนวยความสะดวกเป็นส่วนใหญ่ไม่มีหน้าที่บริการลูกค้าขององค์การโดยตรง  หรือไม่ได้ปฏิบัติงานอันเป็นงานหลักขององค์การในบริษัททั่วไป  ได้แก่ ฝ่ายการเงิน  ฝ่ายบุคคล  เป็นต้น
สายการบังคับบัญชา
      สายการบังคับบัญชา  ( chain  of  command)  หมายถึงความสัมพันธ์ตามลำดับขั้นระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อให้ทราบว่าการติดต่อสื่อสารมีทางเดินอย่างไรมีการควบคุมและรับผิดชอบอย่างไรสายการบังคับบัญชาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
            1.   จำนวนระดับชั้นแต่ละสายไม่ควรให้มีจำนวนมากเกินไปจะทำให้ไม่สะดวกแก่การควบคุมอาจทำให้งานคั่งค้างได้
            2.   สายบังคับบัญชาควรมัลักษณะชัดแจ้งว่าใครเป็นผู้มีอำนาจสั่งการและสั่งไปยังผู้ใดในทำนองเดียวกันถ้าจะมีการรายงานจะต้องรายงานต่อใครมีทางเดินไปในทิศทางใด
            3.    สายการบังคับบัญชาไม่ควรให้มีการก้าวก่ายกันหรือซ้อนกันงานอย่างหนึ่งควรให้มีผู้รับผิดชอบเพียงคนเดียวถ้ามีผู้สั่งงานได้หลายคนหลายตำแหน่งในงานเดียวกันจะทำให้การปฏิบัติงานสับสน


ช่วงการควบคุม
ช่วงการควบคุม  (Span  of  control)  หมายถึงสิ่งที่แสดงให้ทราบว่าผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งมีขอบเขตความรับผิดชอบเพียงใดมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คนหรือมีหน่วยงานที่อยู่ใต้ความควบคุมรับผิดชอบกี่หน่วยงานแต่เดิมเชื่อกันว่าผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งควรมีผู้ใต้บังคับบัญชารองลงไปไม่เกิน  10  ถึง  20  คน  ปัจจุบันเชื่อกนว่าจะมีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คนก็ได้  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บังคับบัญชาและคุณภาพของผู้ใต้บังคับชา
การจัดโครงสร้างองค์กรธุรกิจ
     โครงสร้างองค์กรที่เป็นทางการ
          1. องค์กรแบบหน่วยงานหลัก (Line Organization) พบมากที่สุดในธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งจ้างบุคคลเพียงไม่กี่คน
          2. องค์กรแบบหน่วยงานหลักและหน่วยงานให้คำแนะนำปรึกษา (Line-Staff Organization) สำหรับธุรกิจขนาดย่อมซึ่งประสบความสำเร็จและความเจริญเติบโตในระดับหนึ่งโครงสร้างองค์กรที่ไม่เป็นทางการ
          1. การจัดโครงสร้างของธุรกิจขนาดย่อม พนักงานและงานจำเป็นต้องถูกจัดกลุ่มในลักษณะหนึ่ง จากนั้นผู้บริหารจะได้รับการมอบหมายให้ควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเหล่านั้น
                    1. การจัดองค์กรโดยใช้เวลา (Organization by Time)
                    2. การจัดองค์กรโดยใช้จำนวน (Organization by Number)
                    3. การจัดองค์กรโดยใช้หน้าที่ (Organization by Function)
                    4. การจัดองค์กรโดยใช้สินค้า (Organization by Product)
                    5. การจัดองค์กรโดยใช้พื้นที่ (Organization by Territory)
                    6. การจัดองค์กรโดยใช้ลูกค้า (Organization by Customer)
                    7. การจัดองค์กรโดยใช้โครงการ (Organization by Project)
          2. การจัดโครงสร้างโดยวิธีผสม ในบางกรณีการจัดองค์กรโดยใช้หลายๆ วิธีก็อาจจะเป็นที่ต้องการเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจได้
      แผนภูมิขององค์การ
            แผนภูมิองค์การ  (organization  chart)  เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เข้าใจโครงสร้างขององค์การอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตลอดจนสายบังคับบัญชาในองค์การนั้นๆแผนภูมิองค์การเป็นส่วนย่อที่ช่วยแสดงให้ทราบถึงหน่วยงานย่อยและความสัมพันธ์ของหน่วยงานภายในองค์การ การจัดองค์การควรต้องเขียนแผนภูมิแสดงไว้ด้วยเสมอ  แผนภูมิองค์การจำแนกได้เป็น  3  ประเภท
            1. แผนภูมิโครงสร้างหลัก  (skeleton  chart )  เป็นแผนภูมิแสดงการจัดโครงสร้างทั้งหมดขององค์การว่าประกอบด้วยหน่วยงานย่อยอะไรบ้าง  มีความสัมพันธ์กันอย่างไร  หน่วยงานย่อยใดขึ้นกับหน่วยงานใด แสดงสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน โดยใช้สี่เหลี่ยม  (แทนหน่วยงานย่อย เส้นทึบ    ( - )  แทนสายบังคับบัญชาและเส้นประ  (----)  แทนสายงานที่ปรึกษาหรือสายประสานงานแผนภูมิประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้กันเพราะชัดเจนดีแสดงหน่วยงานย่อยได้ทั้งหมดและไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยนัก
บางตำราได้แบ่งแผนภูมิองค์การออกเป็น  แบบแนวดิ่ง  ซึ่งนิยมเขียนกันทั่วไป แบบแนวนอน  และ  แบบวงกลม  ซึ่งพิจารณาตามลักษณะของการเขียนมากกว่าหลักการเป็นแผนภูมิแบบแนวนอนและแบบวงกลมซึ่งไม่เป็นที่นิยมใช้
ข้อแนะนำในการเขียนแผนภูมิองค์การ
การเขียนแผนภูมิองค์การควรดำเนินการดังนี้
1. รวบรวมหน่วยงานย่อยทั้งหมดขององค์การว่ามีทั้งหมดกี่หน่วยงานและศึกษาให้เข้าใจว่าหน่วยงานใดขึ้นอยู่กับหน่วยงานใด
2. กำหนดชนิดของแผนภูมิว่าจะใช้แบบใด (แบบโครงสร้างหลักแบบแสดงตัวบุคคลหรือแบบแสดงหน้าที่การงาน)
2. แผนภูมิแสดงตัวบุคคล  (personnel  chart)  เป็นแผนภูมิแสดงตำแหน่งและหน่วยงายย่อยคล้ายแผนภูมิโครงสร้างหลักแต่ระบุชื่อบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งไว้ด้วยบางแห่งติดรูปผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงอีกด้วย  (ดูภาพที่  6.21)
3. แผนภูมิแสดงหน้าที่การงาน  (function  chart)  เป็นแผนภูมิแสดงตำแหน่งและหน่วยงานย่อยคล้ายแผนภูมิโครงสร้างหลักแต่บอกหน้าที่ย่อๆของแต่ละตำแหน่งไว้ด้วยแผนภูมิแบบนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้


 โครงสร้างขององค์การธุรกิจทั่วไป

            การประกอบธุรกิจที่มีขนาดเล็กมีเจ้าของคนเดียวเป็นผู้ลงทุนและดำเนินกิจการจะไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนมากนัก  ขอบข่ายของการประกอบธุรกิจไม่กว้างขวางไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แน่นอนนั่นคือมีการจัดองค์การที่ดีเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย  มีกำไรสูงสุดและอยู่ได้ตลอดไป
             หน่วยงานย่อยที่สำคัญขององค์การธุรกิจทั่วไปไม่ว่าจะอยู่ในรูปของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด ได้แก่  ฝ่ายผลิตฝ่ายการเงินฝ่ายการตลาด  (ขายฝ่ายบุคคลสำหรับธุรกิจการค้าซึ่งดำเนินการซื้อมาและขายไปไม่จำเป็นต้องมีฝ่ายผลิต  แต่จะมีฝ่ายจัดซื้อแทนดังนั้นการจัดโครงสร้างองค์การธุรกิจทั่วไปจะมีลักษณะดังภาพ


การวางแผนความต้องการกำลังคน และการจัดคนเข้าทำงาน
            1. การวางกรอบความต้องการของพนักงานและพยากรณ์ความต้องการพนักงานในอนาคต
            2. กำหนดว่าจะมีตำแหน่งผู้บริหารจำนวนเท่าใดในอนาคต
            3. ระบุประเภทของงานแต่ละประเภทในรูปของคำบรรยายลักษณะงาน
            4. ประเมินนโยบายธุรกิจและปัจจัยอื่นๆ
            5. พิจารณาตำแหน่งงานที่มีอยู่
            6. สรรหาพนักงานด้วยวิธีการต่าง ๆ
            7. คัดเลือกบุคคลเพื่อการว่าจ้าง
            8. จัดการปฐมนิเทศพนักงานในธุรกิจ
            9. ฝึกอบรมพนักงานให้ปฏิบัติงานแลพัฒนาพวกเขา
          10. จักทำแผนค่าจ้างและสวัสดิการที่ยุติธรรม
          11. ใส่ใจต่อปัญหาข้อร้องเรียนของพนักงาน


ระบบการบริหารงานบุคคล
     1. ระบบอุปถัมภ์
     2. ระบบคุณธรรม โดยยึดหลักความเสมอภาค ความสามารถ และความมั่นคง
กระบวนการบริหารงานบุคคล
     1. การสรรหาบุคลากร
     2. การคัดเลือกบุคลากร
     3. การบรรจุบุคลากร
     4. การพัฒนาบุคลากร
     5. การประเมินผลพนักงานทุกระดับชั้น
     6. การกำหนดค่าตอบแทน
     7. การเลิกจ้าง
การฝึกอบรม
การฝึกอบรมมี 2 ระดับ คือ
     1. ฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน
     2. ฝึกอบรมผู้บริหาร
การวางแผนกำลังคน
นโยบายด้านบุคลากรควรมีความชัดเจน ได้แก่
       - ชั่วโมงทำงาน ,ค่าตอบแทนประโยชน์พิเศษ, วันหยุดพักผ่อน, วันหยุด, การฝึกอบรม, การร้องทุกข์, การเลื่อนตำแหน่ง, การประเมินพนักงาน, การให้ออกจากงาน
การสร้างแรงจูงใจ และวินัยในการทำงาน
     1. เป็นผู้วางแผนการปฏิบัติงาน
     2. เป็นผู้จัดระเบียบองค์กรและจัดตัวบุคคลให้เข้ากับงาน
     3. เป็นผู้ควบคุมสั่งการ
     4. มีหน้าที่ให้ข่าวและการติดต่อทั่วไป
     5. มีหน้าที่ประสานงาน
     6. เป็นผู้บำรุงขวัญริเริ่มและส่งเสริมงาน
     7. เป็นผู้ตัดสินใจออกคำสั่งให้ปฏิบัติและต้องยอมรับความเสี่ยงต่อความผิดพลาดที่อาจจะพึงมี
     8. เป็นทั้งหัวหน้าผู้ควบคุมและจัดมอบงานให้ผู้อื่นทำ
     9. มีหน้าที่ต้องประเมินผลงานและแก้ไขปรับปรุงงานให้ดีขึ้น
การพัฒนาบุคลากรเป็นการสร้างแรงจูงใจที่ดี ซึ่งอาจกระทำได้หลายๆ วิธีดังนี้
     1. สอนงาน
     2. มอบอำนาจหน้าที่
     3. จัดฝึกอบรม
     4. ส่งไปดูงาน หรือศึกษาต่อ
     5. จัดให้เข้าร่วมประชุม หรือมีบทบาทในคณะกรรมการต่างๆ

     6. เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น โดยการเขียน พูด ในงานสัมมนาต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้าง

ที่มาจาก www.east.spu.ac.th/business/admin/knowledge/A83management.doc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น