การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
งาน
คือ ที่มาของรายได้เพื่อนำไปใช้จ่ายสำหรับปัจจัยสี่
ปัจจัยพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต ลักษณะการจ้างงานมีรูปแบบแตกต่างกันออกไป เช่น
พนักงานประจำ , พนักงานชั่วคราว , พนักงานสัญญาจ้าง , พนักงานฝึกหัด , การจ้างไปทำงานต่างบริษัท ฯลฯ
ซึ่งทุกรูปแบบต่างก็ต้องมีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสม่ำเสมอ
การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้
ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมให้กับองค์กรรวมถึงบุคลากรในองค์กรด้วยเป็นการสร้างความแข็งแกร่งและเข้มแข็ง
โดยผลสำเร็จเหล่านั้นจะตอบแทนกลับมาให้กับบุคลากรได้ในหลายทาง เช่น
ตำแหน่งงานที่สูงขึ้น , รายได้ที่สูงขึ้น ,
มาตรฐานการทำงานที่สูงขึ้น , พบเจอกับสังคมใหม่ๆมากขึ้นและกว้างขวางขึ้น
อีกทั้งยังพาองค์กรทยานสู่ความเป็นเลิศมากขึ้น
การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้นอาศัยเทคนิคหลายอย่างเป็นตัวนำไปสู่เป้าหมาย คือ
ความสำเร็จขององค์กร ได้แก่
1. มีเป้าหมายในการทำงานชัดเจน
การกำหนดเป้าหมายเป็นการวางแผนและกำหนดทิศทางการเดินทางของงานให้มีรูปแบบและขอบเขตที่ชัดเจน
การวางเป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะกลาง
เป้าหมายระยะยาวและเดินตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลได้ง่าย
2. พัฒนาความรู้สม่ำเสมอ
คนที่รู้จักการปรับปรุงตัวเองเสมอ คือ บุคคลที่น่ายกย่อง
เพราะพวกเขาจะพยายามหาข้อบกพร่องในการทำงานของตนเองและลบจุดบกพร่องนั้นตลอดเวลา
การพัฒนาความรู้จะช่วยให้เขามีประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น
ช่วยให้มีโลกทัศน์กว้างไกล ไม่ติดอยู่เพียงในกรอบแคบๆที่เคยได้เรียนรู้
การพัฒนาความรู้ยังช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับองค์กรด้วยการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ
ความคิดสร้างสรรค์และจินตนการจะช่วยให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ในสภาพการณ์แข่งขันในปัจจุบัน
3. การบริหารเวลา
เพราะเวลาคือสิ่งมีค่าที่ทุกคนมีเท่ากันหมด หากเราเคยลองสังเกตคนรอบข้างและทำการเปรียบเทียบบุคคล
2 คนที่มีเวลาเท่ากันแต่กลับมีปริมาณงานที่ออกมาแตกต่างกันเนื่องจากบุคคลทั้ง 2
มีการบริหารเวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้น
การบริหารเวลาที่ดีจะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและประสบความสำเร็จได้ในระยะเวลาที่กำหนด
เทคนิคการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การกำหนดตารางเวลาในการทำงาน , การจดบันทึกประชุมหรือการนัดสำคัญๆเพื่อช่วยเตือนความจำ
, การลำดับความสำคัญของงาน , การใช้เครื่องมือสื่อสารหรือเครื่องมือเทคโนโลยีในการสั่งและติดตามงาน
, การกำหนดเส้นตายของงาน , หลีกเลี่ยงการผัดวันประกันพรุ่ง
เป็นต้น
4. การกระตุ้นตนเอง
เป็นการสสร้างแรงจูงใจให้กับตนเองให้มีความเชื่อ
ความรักและความศรัทธาในงานที่ทำอยู่ โดยเราคือส่วนหนึ่งขององค์กร
เป็นหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสำเร็จได้
5. ทีมเวิร์ค
เพราะบุคลากรที่แข็งแกร่งคือทรัพยากรสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ
การมีความรักและสามัคคีให้กับทีมหรือผู้ร่วมงาน
จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเนื่องจากบุคลากรมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
มีการยอมรับระหว่างกัน มีความรักในทีม สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่มีคุณภาพและช่วยให้บรรยากาศการทำงานเต็มไปด้วยความสุข
6. จงลงมือปฏิบัติมากกว่าการพูด
การปฏิบัติลงมือคือตัวที่ก่อให้เกิดเนื้องานได้อย่างแท้จริง
การพุดมากกว่าทำส่งผลเสียให้กับตนเองมากกว่าผลดี เนื่องจากในความเป็นจริง
คนที่พูดมาก พูดเก่ง มักจะปฏิบัติน้อย
อีกทั้งคนที่พูดมากและยังพูดในสิ่งที่ไม่สร้างสรรค์ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในองค์กร
ดังนั้น จงพูดให้น้อยและลงมือปฏิบัติให้มากเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้
หากคุณนั้นเป็นคนหนึ่งที่ต้องการเป็นบุคลากรคุณภาพ
ซึ่งผลลัพธ์จากการใส่ใจในอาชีพเหล่านี้จะช่วยส่งผลให้กับตัวคุณเองให้มีความก้าวหน้าด้านอาชีพการงานในที่สุดภายใต้โลกของการแข่งขันยุคใหม่
สภาพแวดล้อมภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด
การบริหารเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะไม่ว่าธุรกิจจะมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กล้วนแล้วแต่ต้องเผชิญกับสถานการณ์การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น
หากผู้ประกอบการไม่มีทักษะและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการก็จะมีอุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจ
การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการบริหารงานให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนไปได้บนสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรง
ภาพจาก Web Site
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=book4u&date=14-01-2009&group=5&gblog=2
ไคเซนเป็นเทคนิควิธีอันหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานขององค์กร
คำว่า “Kaizen”
เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งหากแยกความหมายตามพยางค์แล้วจะแยกได้
2 คำ คือ
“Kai” แปลว่า การเปลี่ยนแปลง (change)
“Zen”
แปลว่า ดี (good)
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีก็คือการปรับปรุงนั่นเอง
ซึ่งโดยหลักการแล้วเป็นการปรับปรุงงานโดยการทำงานให้น้อยลง
ไคเซนเป็นเทคนิควิธีในการปรับปรุงงานโดย
มุ่งเน้นที่จะลดขั้นตอนในการทำงานลง
เพื่อให้ได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สูงขึ้นและมุ่งปรับปรุงในทุกๆ
ด้านขององค์กรเพื่อยกระดับชีวิตการทำงานของผู้ปฏิบัติงานให้
สูงขึ้นตลอดเวลา
การปรับปรุงในแบบไคเซน (Kaizen)
การปรับปรุงสมัยเก่า มักจะเน้นแต่การปรับปรุงใหญ่ๆ
ที่ต้องลงทุนเป็นหลัก หรือต้องผ่านงานวิจัยและพัฒนา (R&D:
Research & Development) เช่น ใช้เทคโนโลยี
ใหม่เครื่องไม้เครื่องมือใหม่
กระบวนการแบบใหม่ ซึ่งการปรับปรุงลักษณะนี้ก็คือ “Innovation” หรือ “นวัตกรรม” และมักเป็นภารกิจของระดับบริหารหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ส่วนพนักงานทั่วไปก็เป็นเพียงผู้ที่
“คอยรักษาสภาพ”
ให้เป็นไปตามที่หัวหน้ากำหนดไว้ไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการปรับปรุงมากนัก
แต่ในความเป็นจริง การรักษาสภาพก็ไม่ใช่เรื่อง
ง่าย เพราะสภาพที่ดีมักจะค่อยๆ ลดลง
และจะกลับมาดีขึ้นเมื่อเกิด Innovation ในครั้งถัดไป
แนวคิดของ Kaizen
จึงเข้ามาเสริมจุดอ่อนที่เกิดขึ้นตรงนี้ คือ
เป็นการปรับปรุงเพื่อการรักษาสภาพและปรับปรุงเพื่อให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทีละเล็กทีละน้อย
ผสมผสานไปกับ
การปรับปรุงแบบก้าวกระโดดหรือ Innovation
ภาพจาก Web Site
http://operationkm.blogspot.com/2012/06/kaizen-vs-innovation-in-operation.html
หลักในการเริ่มต้นแนวคิดไคเซน (Kaizen)
1.
ความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นประโยชน์มากสำหรับการแก้ไขปัญหา
บางครั้งหากว่าเราแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักเหตุผลธรรมดาซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาแบบตรงๆ
แล้วหนทาง
แก้ไขอาจจะมีราคาแพงไม่คุ้มค่าและอาจจะไม่ได้ผลก็เป็นได้
2.
ใช้หลัก “เลิก-ลด-เปลี่ยน”
การทำไคเซนเพื่อปรับปรุงงานวิธีหนึ่งคือใช้หลักการ “เลิก-ลด-เปลี่ยน”
ดังต่อไปนี้
ก) การเลิก
การเลิก หมายถึง
การวิเคราะห์ว่าขั้นตอนการทำงานหรือสิ่งที่เป็นอยู่บางอย่างนั้นสามารถที่จะตัดออกไปได้หรือไม่
โดยพิจารณาจากความจำเป็น
ตัวอย่างเช่น
หัวหน้างานของบริษัทแห่งหนึ่ง พบว่า วันหนึ่งๆ มีผู้ใต้บังคับบัญชาวางรายงานบนโต๊ะทำงานของตนเป็นจำนวนมาก
และทุกครั้งตนเองก็ต้องเสียเวลา
เปิดอ่านเนื้อหาภายในเพียงเพื่อต้องการทราบเรื่องรายงานเพียงคร่าวๆ
เท่านั้น และพบว่าปกรายงานนั้นช่วยในเรื่องของความสวยงาม
แต่กลับไม่สะดวกในการทำงาน ดังนั้นหาก
นำปกรายงานออกก็จะช่วยให้สามารถประหยัดเวลาในการทำงานโดยไม่ต้องเปิดดูภายในปกรายงาน
และสามารถประหยัดเงินได้อีกด้วย
ข) การลด
การลด หมายถึง
การพิจารณาว่าในการทำงานนั้นมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องกระทำซ้ำๆ กันไปมา
หากว่าเราไม่สามารถยกเลิกกิจกรรมนั้นออกได้ ก็ต้องพยายามลด
จำนวนครั้งในการกระทำ
เพื่อจะได้ไม่ต้องทำงานแบบซ้ำๆ กันโดยที่ไม่เกิดประโยชน์อันใดตัวอย่างเช่น
พนักงานที่ทำงานด้านภาษีของรัฐแห่งหนึ่งเมื่อใกล้ถึงช่วงเสียภาษีผู้ที่ต้อง
การเสียภาษีจะเดินเข้ามาถามข้อสงสัยจำนวนมาก
พนักงานผู้นี้ต้องการลดการที่จะต้องคอยตอบคำถามแบบซ้ำๆ
โดยการรวบรวมคำถามที่ถูกถามบ่อย ๆ แล้วเขียนติดเป็น
ประกาศพร้อมตัวอย่าง
เพื่อให้ผู้ที่จะมาสอบถามสามารถอ่านข้อสงสัยก่อนได้
ค) การเปลี่ยน
หากว่าเราพิจารณาแล้วว่า
ไม่สามารถเลิก และลดกิจกรรมใดได้แล้ว เราก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้
โดยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน เปลี่ยนวัสดุ เปลี่ยนทิศทาง หรือ
เปลี่ยนองค์ประกอบ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น
ช่างของโรงงานแห่งหนึ่งพบว่า มีการยืมใช้งานเครื่องมือของช่างแต่ละแผนก
งานบ่อยครั้ง ทำให้สุดท้ายเกิดความสับสนว่าเครื่องมือชิ้นนั้นเป็นของ
แผนกใด อีกทั้งเครื่องมือมักจะหายอยู่
บ่อยครั้ง ดังนั้นจึงแก้ไขปัญหานี้โดยใช้วิธีการเปลี่ยนคือ เปลี่ยนสีของเครื่องมือ
โดยแต่ละแผนกจะมีสีของ เครื่องมือต่างกันเพื่อแก้ปัญหา
ความสับสนในการยืมใช้เครื่องมือ
อีกทั้งเครื่องมือยังคงอยู่ประจำแผนกอีก ด้วย
ทำให้ไม่เสียเวลาค้นหาเครื่องมืออีกต่อไป
สิ่งที่ต้องคำนึงในการทำไคเซน (Kaizen)
1.
Kaizen ถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรอย่างหนึ่ง
จะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง
2. Kaizen เป็นสิ่งที่เราทุกคนทำอยู่ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
จึงสามารถนำสิ่งที่เคยปฏิบัติมาดำเนินการให้จริงจังและมีหลักการมากขึ้น
3.
Kaizen จะต้องทำให้การทำงานง่ายขึ้นและลดต้นทุน
แต่ถ้าทำแล้วยิ่งก่อความยุ่งยากจะไม่ถือว่าเป็น Kaizen
บทสรุปไคเซน (Kaizen)
การแข่งขันทางธุรกิจ
เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้ผู้บริหารต้องสร้างสรรค์กลยุทธ์ในการบริหารงานอยู่เสมอ
การบริหารเชิงกลยุทธ์ในรูปแบบของไคเซนจึงถูกนำมา
ใช้อย่างแพร่หลายในธุรกิจ
เนื่องจากสามารถทำได้ง่าย ช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการงาน แต่อย่างไรก็ตาม
การนำหลักการ Kaizen มาใช้ในองค์กรให้ประสบผลสำเร็จนั้น
ผู้บริหารจะต้องมีบทบาท ดังนี้
1.
เป็นผู้นำและริเริ่มการเปลี่ยนแปลงด้วย Kaizen โดยการประกาศและแถลงเป็นนโยบาย การดำเนินการอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
เพื่อให้องค์กรเข้าใจวัตถุประสงค์ของ
การเปลี่ยนแปลงนี้
2.
เป็นประธานในการนำเสนอผลงานความคิดของพนักงานในองค์กร
โดยต้องมีเวทีให้นำเสนอผลงาน สร้างการมีส่วนร่วมให้พนักงานคิดกันเอง เช่น
การจัดประกวด
ความคิด (Idea
Contest)
3.
นำเสนอรางวัลและให้คำรับรอง เพื่อให้เกิดการยอมรับ (Recognition)
4.
มีการติดตามการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอโดยใช้หลัก Visualization
เช่น Visual Board ต่างๆ
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามแนวคิดของไคเซน
นอกจากจะทำให้เกิดผลิตภาพที่ดีแล้ว ยังส่งเสริมศักยภาพในการปฏิบัติงาน
ช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงได้เป็นอย่างดี
งานคือชีวิตชีวิตคืองานหากงานดีชีวิตก็จะดีตามหากขาดงานก็คือขาดชีวิต งานจึงเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่ความสุขกำลังใจความหวังและพลังในการทำงานในองค์การให้มีประสิทธิภาพได้เมื่อองค์การมีประสิทธิภาพ องค์การก็จะอยู่รอดและเติบโตก้าวหน้านั้นก็คือความยั่งยืนในการพัฒนาองค์การนั่นเอง
ที่มาจากhttp://www.stou.ac.th/study/sumrit/5-58(500)/page5-5-58(500).html
วันที่สืบค้น
29/11/2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น